มรรค8 = ทาง, หนทาง
1.มรรค ว่าโดยองค์ประกอบ คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่าทางมีองค์ ๘ ประการอันประเสริฐ เรียกสามัญว่า มรรคมีองค์ ๘
2.มรรค ว่าโดยระดับการให้สำเร็จกิจ คือ ทางอันให้ถึงความเป็นอริยบุคคลแต่ละขั้น, ญาณที่ทำให้ละ สังโยชน์ ได้ขาด เป็นชื่อแห่งโลกุตตรธรรม คู่กับผล มี ๔ ชั้นคือ โสดาปัตติมรรค ๑ สกทาคามิมรรค ๑ อนาคามิมรรค ๑ อรหัตตมรรค ๑
สังโยชน์10 คือ กิเลส(โมหะ-หลง, ราคะ-โลภ, โทสะ-โกรธ) เป็นกิเลสอันละเอียด อันเคยชิน และเป็นสิ่งที่ผูกมัดกับสรรพสัตว์ทั้งหลาย ให้ผูกติดอยู่กับความทุกข์ ทำให้ไม่สามารถหลุดออกจาก วัฏฏสงสาร -การเวียนว่ายตายเกิดได้
ก.โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้แก่ :
๑. สักกายทิฏฐิ : มีความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นของเรา /หลง มันรู้สึกหลงว่าเป็นเราออกมาได้เองโดยความรู้สึกทางตา หู จมูก กาย ใจ ความรู้สึกว่าเราเป็นเราจะมากขึ้นๆ จนเป็นเหตุให้ติดอยู่ในวัฏฏสงสาร. โดยธรรมชาติที่แท้นั้น มันไม่มีอะไร ที่จะเป็นของใครได้ แต่กิเลสหรือความหลงมันมีอยู่ในลักษณะที่ จะต้องมีอะไรเป็นของเขาเองให้ได้. มันก็ต้องไปคว้าเอาสิ่งที่ไม่อาจเป็นของใครได้นั่นแหล่ะมาเป็น ของเขา. คือไปคว้าเอากายกับใจซึ่งที่แท้เป็นเพียงธาตุตามธรรมชาติ นั้นมาเป็นของเขาหรือเป็นตัวเขา. ซึ่งก็ล้วนแต่เป็นมายาทั้ง ตัวเขา และของเขา.
โดยเหตุนี้ สิ่งที่เป็นเพียงธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ ที่รวมกลุ่มกันอยู่ ก็ถูกยึดถือเป็นกาย ของเขา. ซึ่งเห็นได้ชัดเจนทีเดียวว่าไปยึดเอากลุ่มของสิ่งใดสิ่งหนึ่งตามธรรมชาติ. ซึ่งที่แท้ไม่ใช่กายหรือไม่ใช่อะไรของใคร มาให้เป็นกายของเขา. ซึ่งเมื่อร่างกายแตกดับก็กลับกายเป็นเถ่าธุลีกลับคือสู่ผืนดิน ทุกอย่างล้วนเป็นกฎธรรมชาติ ไม่สามารถเข้าไปเเก้ไขได้. กายมีอยู่ก็เพียงเพื่ออาศัยเจริญญาณ เจริญสติเท่านั้น ไม่อาศัยอยู่เเละ ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆในโลก
๒. วิจิกิจฉา : มีความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจ /หลง ยังลังเล หรือ สงสัยอยู่เรื่อยไป ไม่มีความรู้หรือความเข้าใจว่าอะไรเป็นอะไรอยู่เรื่อยไป เราจะสงสัยเรื่องดีชั่ว เรื่องควรไม่ควร อยู่เรื่อยไป มัน
มีความรัก ความกลัว ระแวง ความอยาก ความต้องการอยู่ต่างๆ เป็นเหตุให้สงสัยอยู่เรื่อยไป ว่ามันจะได้ตามที่ต้องกาหรือไม่ หรือมันจะมาเป็นอันตรายแก่เราหรือไม่ มันจะหมดไปหรือไม่ จนเป็นเหตุให้ติดอยู่ในวัฏฏสงสาร
๓. สีลัพพตปรามาส : ความถือมั่นศีลพรต โดยสักแต่ทำตามกันไปอย่างงมงาย /หลง คือความเคยชินในทางที่งมงาย ทาง ผี วิญญาณ เทวดา ที่สิงอยู่ในนั้นและ ขอ อ้อนวอน คุ้มกัน บวงสรวง แท้จริงแล้วเป็นเรื่องของกฎธรรมชาติ กรรมเป็นผู้ชี้ขาด จนเป็นเหตุให้ติดอยู่ใน
วัฏฏสงสาร
๔. กามราคะ : มีความติดใจในกามคุณทั้งห้า / โลภ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ความที่เราฝังตัวแน่นเข้าไปๆ ในสิ่งที่เรียกว่ากามนี้มากขึ้นๆทุกที เป็นนิสัย และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับเพศรงข้าม จนเป็นเหตุให้ติดอยู่ในวัฏฏสงสาร
๕. ปฏิฆะ : มีความที่จิตหงุดหงิดด้วยอำนาจโทสะ / โกรธ เป็นความเคยชินในทางที่โกรธ หงุดหงิดขัดใจ ขาดเหตุผล ไม่พอใจ ไม่มีอะไรให้โกรธ ก็โกรธอะไรก็ไม่รู้ คอยเฝ้าหาสิ่งที่สมบูรณ์แบบ ไม่ยอมเข้าใจว่าทุกอย่างล้วนไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ จนเป็นเหตุให้ติดอยู่ในวัฏฏสงสาร
ข.อุทธัมภาคิยสังโยชน์-สังโยชน์เบื้องสูง ได้แก่ :
๖. รูปราคะ : มีความติดใจในวัตถุหรือรูปฌาน / โลภ ความติดใจในรูปธรรม คือติดใจในอารมณ์แหงรูปฌานหรือวัตถุ จนเป็นเหตุให้ติดอยู่ในวัฏฏสงสาร
๗. อรูปราคะ : มีความติดใจในอรูปฌานหรือความพอใจในนาม-สิ่งที่ไม่มีรูปร่างทั้งหลาย /โลภ คือสิ่งที่จะมาให้ความพอใจแก่เขานั้นเป็นสิ่งที่ไม่มีรูป เช่น เกียรติยศชื่อเสียง ความสรรเสริญ จนเป็นเหตุให้ติดอยู่ในวัฏฏสงสาร
๘. มานะ : มีความถือว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่ /หลง ความเคารพตัว สงวนตัว รักษาเกียรติ หัวแข็ง ไม่ยอมใคร จนเป็นเหตุให้ติดอยู่ในวัฏฏสงสาร
๙. อุทธัจจะ : มีความฟุ้งซ่าน /หลง จิตใจไม่สงบ จนชินเรื่อยไป จนเป็นเหตุให้ติดอยู่ในวัฏฏสงสาร
๑๐. อวิชชา : มีความไม่รู้จริง /หลง ปราศจากความรู้ ทีควรจะรู้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ อยู่เพียงไรก็เรียกว่ายังมีอวิชชาอยู่เพียงนั้น จนเป็นเหตุให้ติดอยู่ในวัฏฏสงสาร
(พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้, พระสกิทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ ให้เบาบางลงด้วย, พระอนาคามี ละสังโยชน์ ๕ ข้อต้นได้หมด, พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อ; ในพระอภิธรรมท่านแสดงสังโยชน์อีกหมวดหนึ่ง คือ ๑.กามราคะ ๒.ปฏิฆะ ๓.มานะ ๔.ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ๕.วิจิกิจฉา ๖.สีลัพพตปรามาส ๗.ภวราคะ (ความติดใจในภพ) ๘.อิสสา (ความริษยา) ๙.มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ๑๐.อวิชชา)
1.สัมมาทิฏฐิ
(ความเห็นชอบ = ปัญญาอันเห็นชอบ คือเห็นอริยสัจ ๔ ความจริงอันประเสริฐของพระอริยะ
ว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา-ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่มีตัวตน
ทุกข์ : ความรู้สึกไม่สบายกาย ไม่สบายใจ เช่น การไม่รู้กุศล อกุศล ,การเกิดแก่เจ็บตาย ,วิชา และอวิชชา-ความหลงอันเป็นเหตุไม่รู้จริง มี ๘ คือ
ความไม่รู้อริยสัจ ๔ แต่ละอย่าง ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้เหตุเกิดแห่งทุกข์ ไม่รู้ความดับทุกข์ ไม่รู้ทางให้ถึงความดับทุกข์, อวิชชา ๘ คือ อวิชชาอริยสัจ ๑-๔ นั้น และเพิ่ม ๕) ไม่รู้อดีต ๖) ไม่รู้อนาคต
๗) ไม่รู้ทั้งอดีตทั้งอนาคต ๘)ไม่รู้ ปฏิจจสมุปบาท-การที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยการเกิดต่อเนื่องกันมา คือ
ชีวิตเป็นไปอย่างไร : กระบวนการเกิดทุกข์ "ปฏิจจสมุปบาทสมุทยวาร"
อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา : เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
สงฺขารปจฺจยา วิญญาณํ : เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
วิญญาณปจฺจยา นามรูปํ : เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ : เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส : เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
ผสฺสปจฺจยา เวทนา : เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เวทนาปจฺจยา ตณฺหา : เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ : เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
อุปาทานปจฺจยา ภโว : เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
ภวปจฺจยา ชาติ : เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
ชาติปจฺจยา ชรามรณํ : เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
1 อวิชชา > ความไม่รู้แจ้ง ไม่รู้ความเป็นจริง | ความไม่รู้ทุกข์-สมุทัย-นิโรธ-มรรค
2 สังขาร > ความคิดปรุงแต่ง เจตจำนงที่จิตสะสมไว้ทั้ง กายสังขาร วจีสังขาร
จิตตสังขาร , สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัย เป็นรูปธรรมก็ตาม นามธรรมก็ตาม ได้แก่
ขันธ์ ๕ ทั้งหมด
๑.รูปขันธ์ กองรูป-รูปภายนอกสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว กระทบรูปภายในตาหูจมูกลิ้นกายใจ เกิดการับรู้ว่ามีการกระทบ
๒.เวทนาขันธ์ กองเวทนา-ความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจ
๓.สัญญาขันธ์ กองสัญญา –จำได้หมายรู้ ว่าสิ่งที่มากระทบนั้นคืออะไร
๔.สังขารขันธ์ กองสังขาร –ปรุงแต่งความอยากที่มากระทบ จนเป็นเหตุให้เกิด กรรมทั้ง
มโนกรรม-การกระทำทางใจ, วจีกรรม-การกระทำทางวาจา, กายกรรม-การกระทำทางกาย
๕.วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ-ความรู้แจ้งที่เกิดขึ้นเมื่ออายตนะภายในและอายตนะภายนอกกระทบกัน วิญญาณ ๖ คือ ๑.จักขุวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางตา(เห็น) ๒.โสตวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางหู (ได้ยิน) ๓.ฆานวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางจมูก(ได้กลิ่น) ๔.ชิวหาวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางลิ้น(รู้รส) ๕.กายวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางกาย (รู้สิ่งต้องกาย) ๖.มโนวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางใจ (รู้เรื่องในใจ)
มันไม่มีตัวกู มันไม่ใช่ของกู
มันมิใช่ตัวกู มันเป็นไปตามธรรมชาติอย่างนั้นเอง
แต่มีความโง่ มีอวิชชา
มีตัณหา มีอุปาทานในที่สุด เข้ามาครอบงำ
มันเลยเปลี่ยนความรู้สึกเป็น ตัวกู ของกู
มันจึงเปลี่ยนจากขันธ์เฉยๆ ไปเป็นอุปาทานขันธ์
คือขันธ์เฉยๆ กลายเป็นอุปาทานขันธ์ คือถูกยึดครองด้วยอุปาทาน
3 วิญญาณ > ความรู้ต่อสิ่งที่ถูกรับรู้ | จักขุวิญญาณ โสต-ฆาน-ชิวหา
-กาย-มโนวิญญาณ
4 นามรูป > นามธรรมและรูปธรรม ชีวิตทั้งกายและใจ | นาม (เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ) รูป (มหาภูติ ๔)
5 สฬายตนะ > อายตนะ คือ ช่องทางรับรู้ ๖ | ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
6 ผัสสะ > การรับรู้ (อายตนะนอกใน + อารมณ์ + วิญญาณ) | จักขุสัมผัส
โสต-ฆาน-ชิวหา-กาย-มโนสัมผัส (สัมผัส ๖)
*มีผัสสะ เกิดขันธ์๕
7 เวทนา > สุข ทุกข์ หรือเฉย ๆ | เวทนาจากสัมผัส ๖ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)
เธอจงพิจรณาว่า เวทนาคือความสุข ความทุกข์
ความไม่สุขไม่ทุกข์เหล่านั้น เป็นของไม่เที่ยง
มีการเกิดขึ้นเเละดับไปเป็นธรรมดา
เมื่อไม่เที่ยงจึงเป็นทุกข์ เมื่อไม่เที่ยงจึงไม่ใช่ของที่เป็นอยู่จริง
อนิจจัง ทุกขัง อนันตา
8 ตัณหา > อยากได้ อยากเป็น อยากไม่เป็น | ตัณหาในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ (ตัณหา ๖)
*มีปัญญา ตัณหาไม่เกิด ขันธ์๕ยังเป็นขันธ์๕ ไม่เป็นอุปาทานขันธ์๕ ทำให้ไปสู่นิพพาน
9 อุปาทาน > ความยึดถือสี่อย่าง ยึดถือในของรักของใคร่, ยึดถือทิฏฐิตามที่ตนมีอยู่,
ยึดถือการปฏิบัติที่งมงาย, ยึดถือว่ามีตัวตน
10 ภพ > ภาวะที่ชีวิตเป็นอยู่ สภาพชีวิต กามภพ รูปภพ อรูปภพ คือ กามภพ-ที่เกิดของผู้ที่ยังเกี่ยวข้องอยู่ในกาม, โลกเป็นที่อยู่อาศัยของผู้เสพกาม ได้แก่ อบายภูมิ ๔ มนุษยโลก และสวรรค์ ๖ ชั้น ตั้งแต่ชั้นจาตุมหาราชิกา ถึงชั้นปรนิมมิตสวัตดีรวมเป็น ๑๑ ชั้น,
รูปภพ-โลกเป็นที่อยู่ของพวกรูปพรหม ดู พรหมโลก,
อรูปภพ-โลกเป็นที่อยู่ของพรหมไม่มีรูป ดู อรูป
11ชาติ>ความเกิด ความปรากฏแห่งขันธ์
12ชรา มรณะ ทุกข์>ตัวกูแก่ ตัวกูตาย ตัวกูทุกข์ เป็นทุกข์ เป็นทุกข์ที่เกิดจากการยึดมั่นถือมั่น